เสาเข็มคอนกรีต

หากพูดถึง การก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคาร บ้าน หรือสร้างตึก สิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญเลย คือ เสาเข็ม เพราะเสาเข็มเป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของตัวบ้าน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เสาเข็มจัดอยู่ในประเภทของโครงสร้าง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่พื้นดิน โดยถ่ายน้ำหนักจากหลังคา พื้น คาน เสา ตอม่อและฐานราก ลงไปสู่ชั้นดิน ถือเป็นองค์ประกอบหลักสำคัญ ในการก่อสร้าง และการเลือกซื้อบ้านเลยก็ว่าได้

เสาเข็ม เปรียบเหมือนโครงสร้าง ที่รับน้ำหนักทั้งหมดของตัวอาคาร หรือตัวบ้านไว้ หากไม่มีเสาเข็ม ตัวบ้านหรืออาคาร ก็เหมือนตั้งอยู่บนดินเฉยๆ น้ำหนักของตัวบ้าน จะกดลงสู่พื้นผิวดิน ส่งผลให้เกิดปัญหาพื้นทรุดตัวลงไปในที่สุด หากบ้านมีเสาเข็ม จะช่วยให้เกิดแรงต้านน้ำหนักของบ้าน จะทำให้ชะลอการทรุดตัว

แบบอัดแรง (prestressed concrete pile)

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เป็นเสาเข็มที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะเสาเข็มชนิดนี้ มีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก แถมยังประหยัดค่าใช้จ่าย และมีคุณภาพ ลักษณะเป็น เสาคอนกรีตที่หล่อจากโครงเหล็กเข้ากับปูนซีเมนต์ (ชนิดแข็งตัวเร็ว) เหล็กที่ทำจะเป็นเหล็กอัดแรงกำลังสูง โดยวิธีการตอกจะใช้ปั้นจั่น กระแทกตอกลงไปในดิน

เหมาะสำหรับ บ้านพักอาศัย หรือ อาคารพาณิชย์

เสาเข็มรูปตัวไอ
มีหลากหลายขนาด ให้เลือกสรร ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนใหญ่จะใช้รับน้ำหนักตัวบ้านทั่วไป คุณสมบัติ มีความแข็งแรงทนทาน

เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ตัวเสาเข็มมีส่วนผสมของคอนกรีตที่ผสมด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ คุณสมบัติ แข็งแรง ตอกง่าย

เสาเข็มหกเหลี่ยม หรือ แปดเหลี่ยมชนิดกลวง
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลักษณะเป็นรุปหกเหลี่ยมตามชื่อ เหมาะสำหรับ พื้นที่ขนาดเล็ก หรือพื้นที่ พื้นที่ ที่ไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาได้ เหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนักคานคอดิน งานปูพรม งานฐานเสารั้ว ฐานงานต่อเดิม มีขนาดเล็ก ตอกง่าย น้ำหนักเบา

เสาเข็มรูปตัวที
ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานเช่น รั้วบ้านพักอาศัย โรงจอดรถ ต่อเติมอาคาร เสริมสร้างความแข็งแรงของถนน ทางเชื่อมระหว่างอาคาร กำแพงกันดิน

เสาเข็มเจาะ (bored pile)

เสาเข็มเจาะ จะมีวิธีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเสาเข็มเจาะนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จ จะต้องทำในพื้นที่จริง (พื้นที่ก่อสร้าง) โดยขุดดินลงไป ขนาดเท่าเส้นผ่านศูนย์กลาง และความลึกของเสาเข็ม ด้วยเครื่องมือเจาะเสียก่อน จากนั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม

เหมาะสำหรับ อาคารสูงใหญ่ วิธีการนี้จะไม่มีการสั่นสะเทือน ทำให้ไม่รบกวนและเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง

ขนาดเล็ก
เป็นเสาเข็ม ที่มี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร วิธีการเจาะ จะเป็นแบบแห้ง ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ

ขนาดใหญ่
เป็นเสาเข็ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ความลึกโดยประมาณ 25-65 เมตร วิธีที่ใช้ในการเจาะ เป็นแบบเปียก แบบเปียกจะต้องฉีดสารเคมีเหลว ลงไปในหลุมที่จะเจาะ (ต้องลึกถึงชั้นดินทรายเหนียว) ทำเพื่อสร้างแรงดันในหลุม เพื่อยึดประสานผิวดินและป้องกันไม่ให้ผนังหลุมพังลงมา

ข้อดีของการใช้เสาเข็มเจาะ คือ สามารถเจาะได้ลึกกว่า และไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่เป็นอันตราย เนื่องจากไม่ใช้การตอกของปั้นจั่น

แบบกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (prestressed concrete spun pile)

หรือเรียกอีกชื่อว่า เสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มที่ใช้ การปั่นคอนกรีตในแบบหล่อ หมุนด้วยกำลังความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา ทำให้มีความแข็งแกร่ง รับน้ำหนักได้ดี

มีลักษณะ เป็นเสากลม ตรงกลางมีรูกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา และวิธีการตอดด้วยระบบเจาะกด

เหมาะสำหรับ ใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว

สอบถามเพิ่มเติม โทร.