แผ่นพื้นท้องเรียบ

หากพูดถึงงานก่อสร้าง การทำพื้น ถือเป็นส่วนหลักในวงการก่อสร้างเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะปลูกสิ่งก่อสร้างอะไร การทำพื้น ถือเป็นฐานสำคัญขั้นพื้นฐาน ที่ช่างควรนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ปัจจุบันการทำพื้น มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น คือมี แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป เพื่อกระชับเวลาในการทำงาน และสะดวกต่องานก่อสร้างในยุคปัจจุบัน บทความนี้ จะพาไปทำความรู้จัก กับ แผ่นพื้นท้องเรียบ ว่าสิ่งๆนี้ คืออะไร ใช้ประโยชน์กับงานก่อสร้างได้อย่างไรบ้าง ?

แผ่นพื้นท้องเรียบ หรือ หลายๆคนอาจจะมองเป็น แผ่นพื้นคอนกรีต มีลักษณะเป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรงแบบตัน หน้าตัด ความกว้าง ประมาณ 35 เซนติเมตร ความหนา 5 เซนติเมตร มีลักษณะ เป็น แผ่นคอนกรีตเรียบเนียน ดูสวยงาม ด้านบนจะมีลักษณะ ขรุขระ เพื่อทำให้ สามารถประสานกับคอนกรีตที่เททับลงมาเป็นเนื้อเดียวกัน

สามารถรับน้ำหนักได้ดี มีความแข็งแรงทนทาน ใช้เวลาทำไม่นาน ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีความมั่นคง แข็งแรง และสวยงาม

ใช้กับงานสร้างบ้าน ทาวเฮ้าส์ อาคารขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง อาคารเรียน คอนโดมิเนียม สำนักงาน

แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน
แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แผ่นพื้นท้องเรียบ เป็นลักษณะแผ่นพื้นสำเร็จ มีความเรียบเสมอกัน เหมือนไม้กระดาน

แผ่นพื้นคอนกรีตแบบสามขา
แผ่นพื้นคอนกรีตแบบสามขา มีลักษณะ ด้านหนึ่งเหมือนแผ่นพื้นท้องเรียบ มีความเรียบเนียน อีกด้านหนึ่ง จะมีลักษณะเหมือนขา อยู่ 3 ขา ช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักของแผ่นพื้น มีส่วนเว้าเพื่อพื้นไม่แอ่นตัว จึงไม่ต้องพึ่งไม้ค้ำยันในการติดตั้ง

แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง
แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง จะมีลักษณะเป็นรูกลวงตรงกลาง ส่งผลให้แผ่นพื้นชนิดนี้ มีน้ำหนักเบายิ่งขึ้น แต่แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง จะมีขนาดที่ใหญ่ว่าแผ่นพื้นชนิดอื่นๆ มักนิยมใช้กับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกสูง คอนโดมิเนียม

แผ่นพื้นสำเร็จ ทั้ง 3 ประเภทข้างต้น มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และความต้องการของช่าง เพราะทั้ง 3 แบบ มีจุดเด่นในการใช้งานที่แตกต่างกัน สามารถนำไปเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทได้เลย

วิธีการใช้งาน

1. เตรียมพื้นที่ จัดเตรียมคานที่เรียบเสมอกับแผ่นสำเร็จรูป มีความกว้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร

2. เตรียมไม้ค้ำยัน ใช้ไม้ค้ำยันชั่วคราว เพื่อค้ำบริเวณด้านล่างแผ่นสำเร็จรูป จะช่วยรับน้ำหนักของคอนกรีตที่เทกับแผ่นพื้น วิธีนี้จะช่วยป้องกันการแตกร้าว หรือเกิดความเสียหาย

3. วางแผ่นคอนกรีตตามแนวคาน วางแผ่นพื้นท้องเรียบ ลงบนคานที่เตรียมไว้ โดยใช้เครนคล้องสลิงไว้กับ พื้นคอนกรีต และจัดระยะนั่งคานให้อยู่ระหว่าง 5-7 เซนติเมตร จัดวางเรียงแผ่นให้เรียบร้อย ต้องมีความเรียบสนิท ห้ามมีช่องว่างระหว่างแผ่น

4. ติดตั้งเหล็กเสริม หลังวาง แผ่นท้องเรียบ เสร็จแล้ว ให้ติดตั้ง ตะแกรงเหล็กไวร์เมช WIRE MESH เสริมความแข็งแรงที่ด้านบนแผ่นพื้น แล้วค่อยเทคอนกรีตทับ เพื่อเสริมความแข็งแรง

5. เทคอนกรีต ขั้นตอนสุดท้าย คือการ เทคอนกรีต ทับบนแผ่นพื้นท้องเรียบอีกครั้ง โดยใช้วิธีเกลี่ยให้มีความหนาเท่าๆกัน และใช้เครื่องจี้คอนกรีตให้สม่ำเสมอ จากนั้นค่อยบ่มคอนกรีต ด้วยวิธีการฉีดพ่น หรือทาน้ำยาบ่มคอนกรีตทันทีที่เริ่มแข็งตัว

สอบถามเพิ่มเติม โทร.